WY88 ครั้งแรกที่ได้ยินประโยคที่ว่า Work Life balance หรือการใช้เวลาชีวิตให้มีสมดุล ทั้งในเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว ในตอนนั้นยังเป็นพนักงานเงินเดือนอยู่ ก็รู้สึกชอบประโยคนี้ขึ้นมาในทันที แต่ในทุกวันนี้ มีหลาย ๆ คนบอกว่าประโยคนี้มันไม่จริงแล้ว
โดยอย่างยิ่งในช่วงหลัง ๆ มีคำกล่าวที่ว่า Work Life balance ที่หมายถึงการใช้ชีวิตประจำวันให้กลมกลืนกันไป ประมาณว่า งานที่ดีก็ควรเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ต้องมีในชีวิต ไม่ใช่ว่าเรื่องงานกับเรื่องชีวิตประจำวัน ถูกแยกออกจากกันโดยสิ้นเชิง อะไรแบบนั้น แม้จะมีเวลาให้กับงานมากกว่าแต่ก็ควรมีความสุขไปกับการทำงาน เสมือนว่างานเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ไม่ต้องไปแยกออกจากกัน โดยรวมบนพื้นฐานชีวิตมนุษย์แล้วนั้น ก็คือนิยามของการที่จะทำให้คน ๆ หนึ่ง ใช้ชีวิตควบคู่กับการทำงานได้อย่างราบรื่นนั่นเอง
ถูกของเขา เพราะเราอาจไม่ประสบความสำเร็จ ใน Work Life balance
Work Life balance ที่หลาย ๆ คนบอกว่า คำนี้ไม่ดี , สิ่งนี้ไม่จริง , ไม่เหมาะสม เพราะการที่คนเราจะแยกเวลาทำงาน กับเวลาของเรื่องส่วนตัว ออกจากกันไปทั้งหมดเลยนั้น อาจไม่ได้ทำให้ชีวิตของคุณดีจริงได้ ซึ่งเรื่องนั้นก็ถูกอย่างที่เขาว่า เพราะมนุษย์เราไม่สามารถประสบความสำเร็จได้โดยอย่างยิ่ง ถ้าความสำเร็จที่พูดถึงนั้น คือ “เงิน ทอง” หรือ “ยศถาบรรดาศักดิ์” ของงาน อย่างที่ใคร ๆ เขาตัดสิน เว้นแต่ว่าเราจะเป็นคนเลือกตัดสินเองที่จะไม่ประสบความสำเร็จเช่นนั้น
ทำความเข้าใจ ให้ลึกซึ้ง
หากต้องการจะแบ่งแยกความแตกต่างระหว่าง Work Life balance และ Work – Life harmony ให้ได้พอเห็นภาพที่ชัดเจน ก็คงสรุปเป็นสองคำสั้น ๆ ระหว่าง “สมดุล” กับ “กลมกลืน” เท่าที่จำได้คร่าว ๆ เมื่อราว ๆ 10 ปีก่อนหน้า Work Life balance ได้เริ่มเป็นที่นิยมขึ้นมา (ในตอนนั้นยังไม่มี Work – Life harmony) ก็มีการถกเถียงกันในประเด็นที่ว่า Work Life balance มันดีจริงหรือไม่? ในการที่แยกเวลาทำงานกับ เวลาชีวิตส่วนตัว ให้แยกออกจากกันไปเลย เบื้องต้นข้อดีของการทำแบบนี้ก็มีอยู่ชัดเจน เพราะว่า ถ้าหากเรามีปัญหาเรื่องการใช้ชีวิตที่ไม่ดี เรื่องของการทำงานนั้นก็ค่อนข้างยากที่จะพัฒนา แต่ในทางตรงกันข้าม ชีวิตการทำงานที่ไม่ดี ก็มักจะส่งผลต่อความเป็นอยู่ของชีวิตประจำวัน สิ่งนี้จึงเป็นพื้นฐานของเรื่อง Work Life balance เพียงแต่ว่าความเข้าใจแรกคือ “สมดุลนั้นไม่จำเป็นต้อง 50 – 50” หรือเวลาของชีวิตส่วนตัวจะไม่สนเรื่องทำงานเลย หรือเวลาทำงานแล้วจะไม่สามารถหยุดได้เลย บางช่วงเวลา หรือบางครั้งอาจจะต้องเป็น 80 – 20 หรือ 40 – 60 บ้าง ที่เชื่อว่า ไม่ว่าจะหลักในการดำเนินชีวิตแบบไหน หัวใจสำคัญของสิ่งนั้น มันก็แค่เพียง “วินัย” และ “การวางแผน” หากขาดไปชีวิตก็คงยากที่จะประสบสุข
สิ่งที่คุณควรทบทวนเป็นเรื่องต่อมา คือ “ความสำเร็จ” เพราะในช่วงหนึ่งของชีวิตก็ทำให้คิดไปเหมือนกันว่า การที่เราบอกกับตัวเองว่า หยุดเรื่องการทำงานลงบ้าง แล้วออกไปใช้ชีวิต ชีวิตจะได้สมดุล นั่นคือเรา ขี้เกียจ , ขี้แพ้ , ไม่มีความสามารถมากพอที่จะประสบความสำเร็จในเรื่องนั้น ๆ หรือเปล่า? ซึ่งเป็นเรื่องที่ตัดสินใจได้ยากอยู่เหมือนกัน แต่สิ่งหนึ่งที่อาจเป็นตัวชี้วัดได้ก็คือ หัวใจหลัก 2 ประการของเรื่องนี้ นั่นก็คือ “เวลา” และ “ความสุข” ตามที่เราได้กล่าวไปข้างต้น
ไม่ใช่ทุกคนที่รู้ในทันทีว่าความสุขของตัวเองนั้น คืออะไร?
เพราะเป้าหมายชีวิตของคนเรา(บางคน) คือ “มีความสุข” แต่การที่จะมีความสุขอยู่ตลอดเวลา ก็คงเป็นไปได้ยาก และการที่ชีวิตของคุณจะไม่ทำอะไรเลยนั้น ก็คงเป็นเรื่องยากที่จะมีความสุขในชีวิต จึงย่อมมีเรื่องของ “เวลา” เข้ามาเกี่ยวข้องกับ คำว่า Work – Life harmony จึงเป็นเรื่องที่ดีกว่าอย่างไม่ต้องสงสัยเลย หากเราสามารถปรับชีวิตประจำวันให้มีความสุขควบคู่กับการทำงานไปด้วยได้แล้ว ก็จะทำให้คุณได้ไปทั้งเงิน ได้ทั้งความสำเร็จในชีวิต ไปอย่างกลมกลืน ย่อมทำให้ชีวิตของเรามีความสุขไปพร้อมกัน จะมีสักกี่คนที่ไม่อยากเป็นแบบนี้
แต่ไม่ใช่กับทุกคนที่จะรู้ได้ในทันที ว่าความสุขของตัวเองนั้น คืออะไร? เช่น ถ้าพนักงานวัย 30 กว่าปีคนหนึ่ง เพิ่งจะค้นพบว่าการเล่นเปียโนนั้นคือความสุขของเขา ถ้าอย่างนั้นก็ควรลาออกจากงาน แล้วไปเล่นเปียโนให้เป็นอาชีพสิ? เพื่อที่งานนั้นจะได้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต หรือไม่ก็ เลิกมีความสุขกับการเล่นเปียโนเสีย! แล้วจงมีความสุขในการทำงานอย่างเดิมให้ได้แทน เรื่องนั้นก็คงเป็นเรื่องยากถูกไหม? และก็คงเป็นไปได้ยากที่งานที่ทำอยู่กับการเล่นเปียโนจะดำเนินควบคู่ไปด้วยกันอย่างกลมกลืน
แต่ถ้าโชคดีสามารถเล่นเปียโนจนเก่งมากพอที่จะไปประกอบเป็นอาชีพหลักได้ ชีวิตของคุณย่อมได้รับการเติมเต็ม แต่อาชีพที่ทำอยู่นี้นั้น จะก้าวหน้าไปได้มากน้อยแค่ไหน? รายได้จะเท่ากับตอนทำงานเป็นพนักงานหรือเปล่า? สุดท้ายแล้วแม้จะได้ทำงานที่มีความสุข แต่รายได้ก็อาจทำให้ชีวิตเป็นทุกข์ลงเรื่อย ๆ ก็ได้ นี่คือความไม่สมดุล
เช่นเดียวกันกับเด็กที่เกิดมาแล้ว รู้ตัวว่าชอบเตะฟุตบอลและพัฒนาตนเองจนกลายเป็นนักฟุตบอลอาชีพ เด็กคนนั้นคงได้ใช้ชีวิตควบคู่ไปกับการทำงานได้อย่างมีความสุข เพียงแต่ว่า ถ้าหากรายได้ดีจนเผลอลืมตัว จนลุ่มหลงไปสุขสมกับสิ่งอื่น ๆ ด้วยจนเกิดความไม่สมดุล กลับกลายเป็นบ่อนทำลายชีวิตในการทำงานของเขา ก็สามารถเป็นไปได้เช่นกัน ซึ่งเชื่อว่าหลาย ๆ คน ก็คงจะเคยเห็นมากันไม่มากก็น้อย และอาจไม่ใช่แค่วงการกีฬา ในทุก ๆ ความสำเร็จของคนที่หลง หรือพลาดไปก็เกิดขึ้นได้กับทุก ๆ คน
เมื่อลองกลับมาทบทวนคำที่ว่า Work Life balance จึงนำไปสู่ความเข้าใจในแง่มุมที่ว่า “สมดุลคือความพอดีที่เป็นไปอย่างมีความสุข” และเพราะคำว่า สมดุล ย่อมมี 2 ด้าน เรื่องต่อมาที่ควรทำความเข้าใจก็คือ ต้อง “รักษา” สมดุลนั้นให้ได้ด้วย
สมดุล
ในด้านที่หนึ่ง “การทำงาน” อันที่จริงแล้วสะท้อนไปถึงเรื่องการเงิน การหาเลี้ยงชีพ และปัจจัยภายนอกต่าง ๆ ที่สะท้อนว่าถ้าวันนี้ยังทำได้ไม่ดีพอ งานไม่ประสบความสำเร็จ เงินทุนสำรองยังมีไม่มากพอ แล้วจะไปบอกว่าใช้ชีวิตแบบ Work Life balance นั้น มันชี้ชัดแล้วว่า “คุณขี้เกียจ” หรือกำลังหา ข้อแก้ตัว ซึ่งพอเข้าใจได้ว่า ถ้าการมีความสุขไปกับหน้าที่การทำงานปัจจุบัน มันไม่สามารถดำเนินไปด้วยกันได้อย่างสิ้นเชิง ก็ต้องปรับความเข้าใจให้สามารถทำงานให้ดีให้ได้ เพราะมันจะมีผลต่อ “อีกด้านของชีวิต” อย่างชัดเจน และนี่คือการรักษาความสมดุล
ในประเทศที่สวัสดิการในการดำรงชีวิตดี ผู้คนย่อมสามารถที่จะสร้าง สมดุล ให้กับชีวิตได้ง่ายกว่า หรือแนวคิดแบบ Work Hard Play Hard ก็ดูเหมือนจะเป็นไปได้ เพราะรายได้ที่ดี การงาน การเงินที่มั่นคง สวัสดิการที่คอยเกื้อหนุน แต่ชีวิตจริงของบ้านเมืองเรา ถือว่ายังยากเกินไปที่จะดำเนินชีวิตแบบนี้ ดังนั้นถ้าการจะมีชีวิตแบบ Work Life balance มันก็ต้องสร้างสมดุลให้เป็นจริงเสียก่อน ทั้งในด้านการทำงาน และการเงิน ที่ไม่ใช่แค่ว่า วันนี้มีงานทำก็พอแล้ว ทำงานแค่เพียงพอเอาตัวรอดได้ เพราะ ‘สมดุลที่จะเกิดขึ้นมันไม่ใช่แค่ในชีวิตปัจจุบัน แต่การดำเนินชีวิตแบบนี้มันต้องมั่นคงไปจนถึงอนาคตด้วย‘ เราคงไม่คิดว่า การมีหนี้สินที่มากมายนั้นจะทำให้ชีวิตมีสมดุลได้หรอกจริงหรือไม่? หรือบางคนที่ ถ้าเกิดว่าตกงานขึ้นมาเมื่อไรชีวิตเดือดร้อนรุนแรงแน่นอน ก็จะถือว่าชีวิตของคุณด้านการทำงานนี้ ยังไม่แข็งแรง ย่อมยากที่จะเป็นไปในการสร้างสมดุล
อีกด้านหนึ่ง การใช้ชีวิตส่วนตัว หรือความสุขส่วนตัว อาจจะเรียกได้ว่า “สิ่งหล่อเลี้ยงทางจิตใจ” อันที่จริงคำกล่าวนี้เป็นเรื่องที่สมดุลได้ยากกว่าในเรื่องการงานมากนัก เพราะความสุขที่แท้จริงนั้น นิยามของแต่ละคนแตกต่างกันออกไป แต่ก็น่าประหลาดใจที่ส่วนใหญ่ปัญหาในชีวิตมักเริ่มมาจากการขาดสมดุลในเรื่องของการงาน การเงินก่อน จนกลายมาเป็นส่งผลให้กับเรื่องชีวิตส่วนตัวขาดซึ่งความสุขไปโดยปริยาย จึงเป็นมูลเหตุให้หลาย ๆ คนเชื่อว่า ความสำเร็จ คือ ความร่ำรวยเงินทอง ซึ่งก็ไม่ได้ผิดทั้งหมด แต่ก็ไม่ได้ถูกทั้งหมดเสียทีเดียว เช่นกัน เพียงแต่คำว่า ร่ำรวย ของแต่ละคนเราก็ไม่ได้มีค่าเท่ากันอยู่ดี เพราะฉะนั้นที่แน่ ๆ เลย คือต้องมีความมั่นคงเพียงพอต่อการดำรงชีวิต ตามที่เขียนไปข้างต้นแล้ว
แต่ก็ไม่แน่ว่าในด้านของชีวิตส่วนตัว หรือความสุขส่วนตัวนั้น จะไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดความไม่สมดุล เหมือนชีวิตของหลาย ๆ คนที่คาดหวังว่าจะมีแต่ความสุขในบางเรื่อง เช่น ความรัก, เกมส์, สังสรรค์ ทำให้สิ่งเหล่านั้นไปทำลาย “การงาน” ทั้งในทางตรงและในทางอ้อม ทั้งไม่ใส่ใจให้มากพอ ไม่พัฒนาตนเอง การงานไม่ก้าวหน้า ฐานะขาดความมั่นคง ชัดเจนแล้วว่าสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ไม่สมดุล
นอกจากในเรื่องของความสุขแล้ว เป้าหมายในชีวิตบางอย่างของบางคนก็หลงไปผิดทาง หลายคนมีชีวิตที่พยายามจะพิสูจน์ เอาชนะไปกับสิ่งที่ไม่จำเป็น เพียงเพราะปมด้อยในใจอย่างไม่รู้ตัว หลายคนไม่พอใจกับสิ่งที่มีอยู่ เป็นอยู่ และเข้าใจไปเองว่า ต้องพยายามดิ้นรนไปข้างหน้าแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น และมันก็ดูเหมือนว่าเป็นโชคร้าย ที่เมื่อยิ่งดิ้นรนผิดที่ ผลลัพธ์ก็มักจะออกมาผิดทาง อยากรวยยิ่งจน ยิ่งอยากอวดยิ่งด้อยค่า ยิ่งอยากมีกลับกลายเป็นไม่มี หรือสิ่งต่าง ๆ ได้มาก็อยู่กับเราไม่นาน คล้ายกับคำกล่าวที่ว่า พยายามผิดที่ อีกกี่ร้อยปีก็ไม่เกิดผล ความสมดุลในด้านนี้จึงเป็นเรื่องที่พูดยากยิ่งกว่า และอาจจะมองว่าเริ่มต้นได้ง่าย ๆ ตรงที่ต้องหาเป้าหมายให้เจอเสียก่อน ว่าชีวิตของเรานั้นต้องการอะไร หรือความสุขจริง ๆ ของตนเองอยู่ที่ใด?
ความสำเร็จ
เป็นคำกล่าวสั้น ๆ ที่เข้าใจได้ง่าย แต่เกิดขึ้นมายาก เพราะต่างคนมีความต้องการที่แตกต่างกัน และที่สำคัญคือ “ความเชื่อมั่น” ลองทบทวนดูว่าถ้าคนเราเชื่อในความสำเร็จแบบเดียวกัน คงเป็นเรื่องตลก ถ้าโลกนี้มีแต่นักดนตรี แต่ไม่มีนักการบัญชี และ ณ จุดนั้นนักการบัญชีก็คงจะมีรายได้มากมายมหาศาล ความสมดุลด้านหนึ่งนั้นจะเปลี่ยนไป และถ้าเราทุกคนมีรถหรู มีบ้านหลังใหญ่กันหมด คนที่ต้องปั่นจักรยานไปทำงานนั้น คงดูเป็นคนที่เท่ห์ที่สุด เฉกเช่นเดียวกัน
มันถูกต้องที่ความสำเร็จนั้น จะเกิดขึ้นได้ย่อมต้องผ่านอุปสรรคต่าง ๆ และความพยายามที่มากมาย ซึ่งนั่นหมายถึง “การให้เวลา” และต้องมุ่งมั่น ทุ่มเทให้มากพอ Work – Life balance จึงไม่ใช่ตัวแทนของความสำเร็จ โดยอย่างยิ่งในเรื่องของความร่ำรวย เพียงแต่มีประโยคตลก ๆ ประโยคหนึ่งที่ว่า “ลำบากในวันนี้ สบายในวันข้างหน้า แต่ถ้าขี้เกียจในวันนี้ ก็สบายทันทีวันนี้เลย” มันก็สะท้อนความเป็นจริงอยู่เหมือนกัน และถ้าเราไม่ได้นิยามความสำเร็จของเราเหมือนกับใคร หรือถ้าเราค้นพบความสุขในแบบฉบับของเราแล้ว เราอาจเป็นผู้ที่ “สบายวันนี้ เดี๋ยวนี้ และวันข้างหน้า” อยู่ก็เป็นได้ เพราะการที่เรามี Work – Life balance ที่ดีอยู่แล้วนั่นเอง นักการบัญชีที่มีเวลาเล่นดนตรี อาจมีความสุขมากกว่า นักการบัญชีที่มีสำนักงานที่ใหญ่โต ทั้งในวันนี้และในอนาคตก็ได้ไม่ต่างกัน
สรุป Work – Life balance ยังเป็นจริง
- Balance ไม่ได้หมายความว่า เวลางาน 50 เวลาส่วนตัว 50 แต่มันคือการวางแผนให้ 2 เรื่องสมดุลและควบคู่กัน
- ถ้าให้คำนิยามความสำเร็จในแบบของตัวเองได้ ก็ถือว่าได้เริ่มต้นแล้ว
- สมดุล คือการรักษา “ความพอดี” ที่มีความสุข
- สมดุลไม่ใช่แค่ในปัจจุบันแต่มันรวมไปถึงอนาคตด้วย
- สมดุล ไม่ได้หมายความว่าจะ สำเร็จ และ ร่ำรวย
แล้วคุณหล่ะ จะเลือกดำเนินชีวิตให้เป็นไปอย่างไร? ใดใดขอให้ประสบพบเจอแต่ความสุข สมหวัง อย่างที่คุณตั้งใจ WY88 ขออวยพร